วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม 

    เราได้ลงพื้นที่ช่วยกันรณรงค์ป้ายการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางโดยการนำป้ายไปติดไว้รอบบริเวณของพื้นที่  ณ วัดศรีชมภูราษฏร์ศรัทธาธรรม อ.เมือง จ.ราชบุรี 
    เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2557  สิ่งที่เราได้จากการทำครั้งนี้ เพื่อเป็นการให้ผู้คนที่ผ่านไปมารู้ว่าเราควรทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางจากการกระทำครั้งนี้เราอาจจะช่วยให้"ขยะไม่ลดลงแต่เราก็ช่วยให้ขยะไม่เพิ่มขึ้น"ในเวลาอันรวดเร็วถ้าเราทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง ทุกๆสถานที่จะดูหน้าอยู่ยิ่งขึ้น                                                                                                                                                











วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปรากฏการณ์เรือนกระจก


ปรากฏการณ์เรือนกระจก (อังกฤษgreenhouse effect) คือ ขบวนการการแผ่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกที่ถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ และแผ่รังสีกลับในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีกลับนี้บางส่วนกลับไปยังพื้นผิวและชั้นบรรยากาศที่ต่ำกว่า ทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงกว่าถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้
การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ที่ความถี่แสงที่ตามองเห็นผ่านชั้นบรรยากาศเป็นส่วนใหญ่และทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น แล้วจะมีการแผ่พลังงานนี้ออกมาในรูปรังสีความร้อนอินฟราเรดที่มีความถี่ต่ำกว่า การแผ่รังสีอินฟราเรดถูกก๊าซเรือนกระจกดูดซับไว้ และจะมีการแผ่พลังงานปริมาณมากกลับไปยังพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศที่ต่ำกว่า กลไกดังกล่าวตั้งชื่อตามปรากฏการณ์ที่การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ผ่านกระจกแล้วทำให้เรือนกระจกอุ่นขึ้น แต่วิธีการกักเก็บความร้อนนั้นแตกต่างไป โดยเรือนกระจกเป็นการลดการไหลของอากาศ แยกอากาศที่อุ่นข้างในเพื่อที่ความร้อนจะไม่สูญเสียไปโดยการพาความร้อน
      โจเซฟ ฟูริเออร์ (Joseph Fourier) เป็นผู้ค้นพบปรากฏการณ์เรือนกระจกเมื่อ พ.ศ. 2367     สวานเต อาร์เรเนียส (Svante Arrhenius) เป็นผู้ทดสอบหาปริมาณความร้อนเมื่อ พ.ศ. 2439
ถ้าวัตถุดำพาความร้อนในอุดมคติมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์เท่ากับโลก วัตถุดำนี้จะมีอุณหภูมิราว 5.3 °C อย่างไรก็ดี เนื่องจากโลกสะท้อนแสงอาทิตย์ที่เข้ามาราว 30% อุณหภูมิยังผล (อุณหภูมิของวัตถุดำที่จะแผ่รังสีปริมาณเท่ากัน) จะอยู่ที่ราว −18 °C ซึ่งต่ำกว่าอุณหภูมิพื้นผิวที่แท้จริงที่ราว 14 °C อยู่ 33 °C กลไกที่สร้างความแตกต่างนี้ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวที่แท้จริงกับอุณหภูมิยังผลเป็นเพราะชั้นบรรยากาศและสิ่งที่รู้จักกันในชื่อปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปรากฏการณ์เรือนกระจกตามธรรมชาติของโลกทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้ ทว่า กิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการเผาไหม้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และการทำลายป่า ได้เพิ่มปรากฏการณ์เรือนกระจกธรรมชาติ ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน

เรือนกระจกจริง

เรือนกระจกสมัยใหม่ในสวนพฤกษศาสตร์ไวสเลย์ RHS Wisley
คำว่า “ปรากฏการณ์เรือนกระจก” มีต้นตอมาจากเรือนกระจกที่ใช้ปลูกต้นไม้หรือทำสวนในเขตหนาว แต่ก็เป็นชื่อที่ผิดเพราะการทำงานของเรือนกระจกมีความแตกต่างกับปรากฏการณ์เรือนกระจก] เรือนกระจกทำด้วยกระจก การร้อนขึ้นเกิดจากการอุ่นขึ้นของพื้นภายในเรือนซึ่งเป็นตัวทำให้อากาศในเรือนอุ่นขึ้น อากาศค่อยๆ ร้อนขึ้นเพราะมันถูกกักไว้ในเรือนกระจก ต่างกับสภาพนอกเรือนกระจกที่อากาศอุ่นใกล้ผิวพื้นลอยตัวขึ้นไปผสมกับอากาศเย็นตอนบน ซึ่งทดลองได้โดยการลองเปิดช่องเล็กๆ ตอนบนสุดของเรือนกระจก อุณหภูมิอากาศภายในจะเย็นลงทันที ซึ่งเคยมีการทดลองมาแล้ว (Wood, 1909) โดยการสร้างเรือนกระจกด้วยเกลือหิน (ซึ่งโปร่งแสงอินฟราเรด) และทำให้อุ่นได้เหมือนกับที่สร้างด้วยกระจก ดังนั้นการอุ่นขึ้นของอากาศจึงเกิดจากการป้องกันไม่ให้เกิด “การพาความร้อน” แต่ปรากฏการณ์เรือนกระจกของบรรยากาศกลับลด “การสูญเสียการแผ่รังสี” ไม่ใช่การพาความร้อน ดังนั้นจึงอาจพบแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการอุปมาเรือนกระจกที่ผิดๆ ได้มาก ถึงแม้ว่ากลไกขั้นต้นของการร้อนขึ้นของเรือนกระจกคือการป้องกันไม่ให้เกิดการผสมกับอากาศอิสระของบรรยากาศภายนอกก็ตาม คุณสมบัติการกระจายรังสีของกระจกก็ยังมีความสำคัญเกษตรกรผู้ปลูกต้นไม้เชิงพาณิชญ์อยู่ ด้วยการพัฒนาสมัยใหม่ของพลาสติกและกระจกที่ใช้กับเรือนกระจกทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกชนิดการปลดปล่อยรังสีดวงอาทิตย์ได้ตามชนิดของพืชที่ต้องการแสงในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%81#.E0.B9.80.E0.B8.A3.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.99.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.88.E0.B8.81.E0.B8.88.E0.B8.A3.E0.B8.B4.E0.B8.87

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พายุ

พายุ หมายถึง ภาวะผิดปกติของบรรยากาศ เป็นปรากฎกาณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแสดงถึงสภาวะของอากาศไม่ดีและมีลมแรงจัด พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1. พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด

2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ เกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา มีกำลังความเร็วของลมตั้งแต่ 65 น๊อต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป เมื่อพัดผ่านที่ใดก็จะทำให้เกิดความเสียหาย  ดังนี้


- พายุเฮอร์ริเคน เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโกด้วย




- พายุไซโคลน เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ แต่ถ้าพายุนี้เกิด
บริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลีวิลลี




- พายุไต้ฝุ่น เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น




แต่หากพายุหมุนเขตร้อนอ่อนกำลังลงก็จะมีชื่อเรียกต่างหากว่า
- พายุโซนร้อน เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล ความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง ความเร็วของลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34 น็อต หรือ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 63 น็อต หรือ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจมเรือขนาดใหญ่ ๆ ได้




- พายุดีเปรสชัน เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก เป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ความเร็วของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน 33 น็อต หรือ 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง




3. พายุทอร์นาโด เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม./ชม. ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน ซึ่งอาจสามารถพังทลายสิ่งก่อสร้างได้ เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ ทอร์นาโดแบ่งออกตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 - F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด

ที่มา : http://www.unigang.com/Article/8269

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คำกลอน เพราะๆ

หากต้องเลือกความรักกับอากาศ

ความรักกับอากาศ..
เธอเลือกที่จะขาดสิ่งไหน
ไม่มีอากาศ ก็ไม่มีลมหายใจ
ไม่มีความรักยังหายใจได้เหมือนทุกวัน
-  -  -  -  -  -
อากาศไม่ต้องเสาะแสวงหา
แต่ความรักจะได้มาต้องบากบั่น
อากาศอาจได้มาง่ายๆและมีอยู่มากมายร้อยพัน
ส่วนความรักแม้เพียงฝันก็สุขใจ
-  -  -  -  -  -
อากาศแทบไม่มีน้ำหนัก
ส่วนความรักใครก็เห็นว่ายิ่งใหญ่
อากาศไม่เคยสร้างความเสียใจ
หากความรัก ทำให้ต้องร้องไห้ มีน้ำตา
-  -  -  -  -  -
อากาศทำให้ทุกชีวิตดำรงอยู่
และความรักทำให้ลมหายใจทุกอณูมีคุณค่า
อากาศมองเห็นได้ยากด้วยสายตา
ส่วนความรัก เห็นด้วยตา รู้ด้วยใจ
-  -  -  -  -  -
มีอากาศโลกก็เป็นอย่างที่เป็นอยู่
มีความรักโลกจะกลายเป็นสีชมพูหวานไหว
สำหรับอากาศ เข้า-ออก ตามลมหายใจ
แต่ความรักหากมีไว้ก็ไม่อยากสูญเสียไปสักนิดเดียว
-  -  -  -  -  -
ดูแลรักษาอากาศว่าลำบาก
ดูแลความรักยิ่งยุ่งยากหากไม่ชอบแลเหลียว
อากาศมากเท่าไร่ก็ไม่กลมเกลียว
ความรัก แม้บางเบาก็แน่นเหนียวและผูกพัน
-  -  -  -  -  -
ส่นประกอบของอากาศสามารถบรรยาย
แต่ความรักไม่อาจอธิบายด้วยคำสั้นๆ
อากาศอาจ ดี-แย่ แต่ละวัน
ส่วนความรักนั้นจะยังคงอบอ่นกรุ่นหัวใจ
-  -  -  -  -  -
“ความรัก” กับ “อากาศ”
หากถามฉัน ว่าเลือกที่จะขาดสิ่งไหน
แม้อากาศจำเป็นสักเพียงใด
แต่ในโลกที่ความรักสิ้นไร้ ก็ไม่อาจทนอยู่ได้เช่นกัน


ขอบคุณ ที่ทำให้เข้าใจ ว่าความรักไม่ได้มีแต่ด้านที่มืดมน
ขอบคุณ – ที่มาให้รัก
ขอบคุณ – ที่ทำให้รู้จักว่าความรักนั้นเป็นแบบไหน
ขอบคุณ – ที่ทำให้รู้ว่าส่วนหนึ่งของความรักที่งดงามเป็นเช่นไร
ขอบคุณ – ที่ทำให้เข้าใจ ว่าความรักไม่ได้มีแต่ด้านที่มืดมน


รักเธอเหมือนทะเล
สูดกลิ่นไอแห่งความอบอุ่น
ก้อนเมฆเหมือนปุยนุ่นขาว – ขาว
แดดส่องคลื่นวิ่งไล่เป็นสายพราว
หาดทรายยาวทอดไปสุดสายตา
อยากให้เธออยู่ตรงนี้
ร่วมซึมซับความรู้สึกดี – ดี ที่ตรงหน้า
เผื่อเธอจะเข้าใจในเวลา
ที่ฉันบอกเธอว่า”รักเธอเหมือนทะเล”

ที่มา:http://www.klonthai.com/

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันสิ่งแวดล้อมโลก 2557 วันที่ 5 มิถุนายน




          ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีนั้น เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นวันที่เราควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อสภาพแวดล้อมของเราที่ย่ำแย่ลงทุกวัน สังเกตได้จากปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งหิมะขั้วโลกเหนือละลาย น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรืออากาศร้อนขึ้น ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนมาจากการมนุษย์ที่เป็นคนทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อมดีๆ นั่นเอง ทำให้หน่วยงานของโลกจัดตั้งวันสิ่งแวดล้อมโลกขึ้น

          สำหรับจุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day นั้นจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่มีรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ โดยเรียกการประชุมนี้ว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" หรือ "UN Conference on the Human Environment" ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ

          ทั้งนี้เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP: United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น ไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือ จากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก



          ซึ่งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผลจึงได้กำหนดวิธีการไว้ดังนี้

          -สร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชนและนักศึกษาทั่วไป

          -ให้การสนับสนุนทางวิชาการ และเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

         -เสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม


          นอกจากนั้น ยังมีข้อตกลงจากการประชุมให้มาดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ซึ่งประเทศไทยก็ได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และได้ก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงาน ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็น 3 หน่วยงาน คือ

          1.กรมควบคุมมลพิษ

          2 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

          3.สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม


ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/24504