วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การนำพาพลังงานมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน


                             มนุษย์รู้จักนำพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์โดยตรงมาตั้งแต่สมัยโบราณคือใช้ในการตากผ้า ตากผลผลิตทางการเกษตร
              และอุตสาหกรรมทำนาเกลือ เป็นต้น


                             ในสมัยปัจจุบันได้นำความรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์โดยใช้เทคโนโลยีและออกแบบเครื่องมือในการนำพลังงาน
                 แสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ500,000ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตใกล้เคียง
                 เส้นศูนย์สูตร หรืออยู่ในแถบร้อน.......มีค่าพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยค่อนข้างสูงประมาณวันละ4.7กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตร
                 หากสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกลงบนประเทศไทยเพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่ทั้งหมดต่อปี............จะได้พลังงานเทียบเท่า
                 น้ำมันดิบประมาณ 700 ล้านตัน............การค้นคว้าเพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้แทนพลังงานเชื้อเพลิงอื่นซึ่งเป็นพลังงานที่
                 หมดไปจากโลกได้จึงมีความจำเป็นต้องวิจัยและพัฒนา....... เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานให้ได้ต่อไป การนำพลังงานแสงอาทิตย์
                 มาใช้ โดยการประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ เช่น การกลั่นน้ำด้วยแสงอาทิตย์ ....การอบแห้งด้วยแสงอาทิตย์ .......และการแปรรูป
                 พลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรงหรือที่เรียกว่าโซล่าเซลล์
  
                         การกลั่นน้ำด้วยแสงอาทิตย์ .....ทำงานโดยให้น้ำรับความร้อนจากแสงอาทิตย์ในถาดน้ำ
                 จะใช้วัตถุสีดำ เช่น ขี้เถ้า แกลบ หรือทาสีดำ เพื่อเพิ่มการดูดกลืนพลังงานความร้อน จะทำให้
                 การระเหยน้ำในถาดนี้จะระเหยได้เร็วมากเมื่อน้ำกลายเป็นไอระเหยเกาะแผ่นกระจกใสแล้วเกาะ
                 เป็นหยดน้ำ เมื่อปริมาณมากเข้า จะไหลลงไปในที่รองรับปกติระบบกลั่นน้ำนี้จะผลิตน้ำร้อนได้
                 ประมาณ 2-3 ลิตร ต่อตารางเมตรต่อวัน ณ ความเข้มแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยปกติ
                                                          ประโยชน์
                              น้ำกลั่นนี้ใช้นำไปใส่แบตเตอรี่รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ หรืออื่นๆ ที่ใช้น้ำกลั่นได้
  
                                                       

                            การอบแห้งด้วยแสงอาทิตย์ ใช้ระบบเดียวกับการกลั่นน้ำด้วยแสงอาทิตย์ คือมีพื้นทาสีดำ
                  อากาศที่ไหลเข้ามาจะร้อนและลอยตัวผ่านผลิตผลที่นำมาอบให้แห้ง อากาศที่ร้อนจะพาความชื้น
                  จากพืชผลออกไปที่ปล่องด้านบน เมื่ออากาศร้อนไหลออกไปจะเกิดช่องว่าง อากาศภายนอกจะไหล
                  เข้ามาแทนที่วนเวียนเช่นนี้

                                  ประโยชน์ ใช้อบผลิตผลทางการเกษตร เช่น กล้วยตาก พริก ถั่ว ข้าวโพด และอบไม้ ฯลฯ เป็นต้น

                                               
                            เตาแสงอาทิตย์ ........ใช้หลักการรวมแสงอาทิตย์ด้วยกระจกโค้งรับแสงอาทิตย์จากนั้นจึงปรุงอาหารบนกระจกโค้ง
                  ตรงจุดรวมแสงอาทิตย์

                             ประโยชน์ ......ใช้แทนเตาหุงต้ม โซล่าเซลล์กระแสไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละเซลล์มีค่า
                 ไม่มากนัก จึงนิยมนำมาใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า ไม่มากนัก เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ เป็นต้น
                  หากต้องการพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์จำนวนมากต้องนำเซลล์แสงอาทิตย์มาต่อกันเป็นจำนวนมากทีเดียว
                  จึงสามารถนำมาใช้ได้ในไฟฟ้าในครัวเรือน ไฟฟ้าสื่อสาร ใช้สูบน้ำ ฯลฯ เป็นต้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
                 ได้นำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้งานหลายแห่งคือ ที่คลองช่องกล่ำ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี นำมาใช้ผลิต 

                  กระแสไฟฟ้าในครัวเรือนโดยใช้ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ที่ควนพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต นำมาใช้ผลิต
                  กระแสไฟฟ้าร่วมกับกังหันลม ที่หมู่บ้านสหกรณ์อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำมาใช้ผลิตกระแส
                 ไฟฟ้าร่วมกับเครื่องยนต์ดีเซลล์ ที่สถานีทวนสัญญาณจองคร่อง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
                 ที่สถานีทวนสัญญาณ เขาฟ้าผ่า อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่อ่างเก็บน้ำ โรงไฟฟ้า จังหวัดกระบี่
                 ที่สถานีทวนสัญญาณบ้านนาแก้ว จังหวัดกระบี่ ได้นำเซลล์ไฟฟ้ามาใช้ในไฟฟ้าสื่อสาร ที่หน้าพระตำหนัก
                 เขื่อนภูมิพล จังหวัดตากได้นำมาใช้ในโคมไฟฟ้า 5 ตัน และที่ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
                 ได้นำมาใช้สาธิตการผลิตไฟฟ้าสำหรับแสงสว่างและปั้มนำพุ
                             

                                                    อ้างอิง http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/sunshine/SUN-1.htm

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พลาสติก 7 ประเภท

พลาสติก 7 ประเภท

          ในปัจจุบันได้มีการรณรงค์การนำวัสดุต่างๆ มารีไซเคิลเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมไปถึงการนำพลาสติกต่างๆ ไปรีไซเคิลด้วย สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งอเมริกา (The Society of the Plastics Industry, Inc.)ได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของพลาสติกยอดนิยมกลุ่มต่างๆ ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนหรือที่เรียกว่าการรีไซเคิล (Recycle) ไว้ 7 ประเภทหลักๆ โดยหากพลาสติกใดสามารถนำมารีไซเคิลได้ ก็จะมีรหัสอันประกอบด้วยลูกศร 3 ตัว วนเป็นรูป 3 เหลี่ยมรอบๆ ตัวเลขตัวหนึ่งดังแสดงในรูปภาพ อย่างไรก็ตามก่อนจะทราบ
รายละเอียดของพลาสติกทั้ง 7 ประเภท เรามาทำความรู้จักความหมายคร่าวๆ ก่อนว่าพลาสติกคืออะไร




ภาพจาก Website

http://www.plasticsindustry.org/AboutPlastics/content.cfm?ItemNumber=823&navItemNumber=2144 
ข้อมูลภาพเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2555
พลาสติกคืออะไร
          พลาสติกจัดเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นสายโซ่ยาวๆ แต่ไม่สามารถมองเห็นเป็นสายโซ่ได้ด้วยตาเปล่าซึ่งสายโซ่ดังกล่าวประกอบด้วยหน่วยย่อยๆที่เรียกว่ามอนอเมอร์ พอลิเมอร์สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชั่น(polymerization) ของมอนอเมอร์ โดยใช้แหล่งวัตถุดิบจากปิโตรเคมีเป็นหลัก พลาสติกมีหลายชนิดและสามารถใช้แทนวัสดุธรรมชาติได้หลายอย่าง เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ใช้ผลิตท่อพีวีซี, พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (PET) ใช้ผลิตขวดบรรจุน้ำดื่ม และพอลิสไตรีน (PS)
ใช้ผลิตภาชนะบรรจุต่างๆ เช่นช้อน พลาสติก เป็นต้น

เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะเป็นอย่างไร
          เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะแสดงคุณสมบัติ 2 แบบหลักคือ 1) พลาสติกจะแข็งตัวถาวรไม่ว่าจะถูกความร้อนมากแค่ไหนก็ตาม ทำให้ไม่สามารถหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่ตามที่ต้องการได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกกลุ่มนี้ว่า “เทอร์โมเซตติ้ง (thermosetting)” และ 2) พลาสติกจะเกิดการอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และจะกลับไปแข็งเมื่อพลาสติกเย็นขึ้น ทำให้สามารถนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกแสดงคุณสมบัติแบบนี้ว่า “เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)” ซึ่งพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้คือพลาสติกประเภท “เทอร์โมพลาสติก
(Thermoplastic)”

พลาสติกรีไซเคิลทั้ง 7 ประเภท
          พลาสติกหมายเลข 1 มีชื่อว่า พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate) หรือที่รู้จักกันดีว่า เพ็ท (PET หรือ PETE)เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน เป็นต้น

          พลาสติกหมายเลข 2 มีชื่อว่า พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือที่เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE)เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำและบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็น ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียม เป็นต้น
          พลาสติกหมายเลข 3 มีชื่อว่า พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือที่รู้จักกันดีว่า พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใสแผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำสำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม เป็นต้น



ภาพจาก Website

http://en.wikipedia.org/wiki/Plastic_recycling
ข้อมูลภาพเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2555
          พลาสติกหมายเลข 4 มีชื่อว่า พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) สามารถเรียกแบบย่อว่า แอลดีพีอี(LDPE) เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม เป็นต้น
          พลาสติกหมายเลข 5 มีชื่อว่า พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP) เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้ากระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง เป็นต้น
          พลาสติกเลข 6 มีชื่อว่า พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือที่เรียกโดยย่อว่า พีเอส (PS) เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่ายใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่างๆ หรือโฟมใส่อาหาร เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ได้
          พลาสติกเลข 7 นั้นมิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมาหลอมใหม่ได้



ภาพจาก Website

http://www.greenguidenetwork.com/article-detail/May-17-2010---The-7-Types-of-Plastic--What-They-Mean-to-Your-Health.-202/
ข้อมูลภาพเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2555
          ขยะพลาสติกจึงไม่ควรนำไปทิ้งรวมกับขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เช่น ขยะสด ขยะที่สามารถเผาได้ ขยะที่ไม่สามารถเผาได้เป็นต้นแต่ควรแยกทิ้งโดยแยกประเภทของขยะพลาสติกและล้างทำความสะอาดก่อนจะนำไปทิ้ง เพื่อที่จะได้นำขยะพลาสติกเหล่านี้ไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัฑณ์อื่นๆ ต่อไป เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก
ที่มา : http://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-56(500)/page4-1-56(500).html

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

6 คุณประโยชน์ที่เราจะได้ฟรีๆ จากธรรมชาติทุกวัน … แต่เรากลับไม่ใช้เอง !!

 
     ธรรมชาติ สร้างสรรค์สิ่งดีๆ  มีคุณประโยชน์มากมาย  ให้แก่มวลมนุษย์บนโลกใบนี้  
ที่สำคัญอันได้แก่  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ   นั่นเอง

วันนี้  ที่จะกล่าวถึง  ได้แก่  คุณประโยชน์ดีๆ จากแสงแดด  ที่เราจะได้ทุกวัน  แต่เรากลับ ไม่ใช้เอง


6  คุณประโยชน์จากแสงแดด


1.  แสงแดดให้วิตามิน ดี   ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียม   เป็นประโยชน์ต่อกระดูก
และฟันและช่วยในการย่อยอาหาร

การได้รับแสงแดดในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นทุกวัน  จะทำให้ร่างกายสามารถสร้างวิตามิน ดี
ตามที่ร่างกายต้องการ ได้ทั้งหมด

(ผู้เขียนบล็อกใคร่ขอเสนอให้รับแสงแดดในช่วงเช้า   ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้น  ไปจนถึง
หลังจากนั้นประมาณ  1  ชั่วโมง  ( ประมาณ   06.00 -  07.00 น.)    และในช่วงเย็น  
ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ ก่อนตก ประมาณ  1  ชั่วโมง  ไปจนถึงดวงอาทิตย์ตก   ( ประมาณ  
17.00 - 18.00 น.)  แสงแดดจะอ่อนมาก  ให้คุณประโยชน์ อย่างเต็มที่  จะนั่งสมาธิ
ไปด้วย  หรือจะนั่งนอน แบบพักผ่อน  ก็ได้ประโยชน์ทั้งนั้น

ห้ามโดนแดดจัด เป็นเวลานาน   เพราะอาจจะทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้  โดยเฉพาะในเวลา
10.00 -  14.00 น.  ซึ่งเป็นเวลาแดดจัดมาก

***  เวลาแต่ละประเทศ ไม่เหมือนกัน เป็นการประมาณเท่านั้น)


2.  แสงแดดทำให้ผิวหนังแข็งแรงขึ้น    สามารถต้านทานโรค และลดอาการอักเสบ
ติดเชื้อได้  โดยเฉพาะกับโรคสะเก็ดเงิน  แผลแมลงสัตว์กัดต่อย  และสิว


3.  แสงแดดช่วยลดอาการตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดได้  โดยให้เด็กตากแดดอ่อน
ในตอนเช้า  และให้ดื่มน้ำมากๆ


4.  แสงแดดช่วยให้อารมณ์แจ่มใส   มีงานวิจัยพบว่า  ผู้หญิงบางคนที่อยู่ในแถบ
ประเทศที่มีฤดูหนาว  ซึ่งมีแสงสว่างน้อย เป็นเวลายาวนาน  จะเกิดอารมณ์ซึมเศร้า ที่เกิด
ตามฤดูกาล  แสดงถึงว่า  แสงแดดมีผลกระทบต่อระบบประสาทและอารมณ์  ที่เป็นเช่นนี้
ก็เพราะแสงแดดช่วยให้สมองหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน  ซึ่งเป็นสารสุขที่ช่วยให้รู้สึก
สบายนั่นเอง


5.  แสงแดดช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน   โดยไปช่วยเพิ่มความสามารถของ
เม็ดเลือดแดง  ในการลำเลียงออกซิเจน  เมื่อได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่  เซลล์ต่างๆ
ก็จะทำงานได้ดีขึ้น


6.  แสงแดดช่วยลดน้ำหนัก  โดยไปกระตุ้นอัตราเผาผลาญอาหารของร่างกาย  ช่วยให้
เผาผลาญแคลอรี่ได้มากขึ้น (บ้าง)    แต่ไม่ได้มากขนาดที่จะทำให้  คุณกินข้าวขาหมู
ทั้งจาน  แล้วจะไปตากแดด  เพื่อเผาผลาญพลังงานได้หมด  โปรดอย่าเข้าใจผิด

ที่มา: http://www.oknation.net/blog/surasakc/2012/10/22/entry-1