วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม 

    เราได้ลงพื้นที่ช่วยกันรณรงค์ป้ายการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางโดยการนำป้ายไปติดไว้รอบบริเวณของพื้นที่  ณ วัดศรีชมภูราษฏร์ศรัทธาธรรม อ.เมือง จ.ราชบุรี 
    เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2557  สิ่งที่เราได้จากการทำครั้งนี้ เพื่อเป็นการให้ผู้คนที่ผ่านไปมารู้ว่าเราควรทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางจากการกระทำครั้งนี้เราอาจจะช่วยให้"ขยะไม่ลดลงแต่เราก็ช่วยให้ขยะไม่เพิ่มขึ้น"ในเวลาอันรวดเร็วถ้าเราทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง ทุกๆสถานที่จะดูหน้าอยู่ยิ่งขึ้น                                                                                                                                                











วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปรากฏการณ์เรือนกระจก


ปรากฏการณ์เรือนกระจก (อังกฤษgreenhouse effect) คือ ขบวนการการแผ่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกที่ถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ และแผ่รังสีกลับในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีกลับนี้บางส่วนกลับไปยังพื้นผิวและชั้นบรรยากาศที่ต่ำกว่า ทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงกว่าถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้
การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ที่ความถี่แสงที่ตามองเห็นผ่านชั้นบรรยากาศเป็นส่วนใหญ่และทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น แล้วจะมีการแผ่พลังงานนี้ออกมาในรูปรังสีความร้อนอินฟราเรดที่มีความถี่ต่ำกว่า การแผ่รังสีอินฟราเรดถูกก๊าซเรือนกระจกดูดซับไว้ และจะมีการแผ่พลังงานปริมาณมากกลับไปยังพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศที่ต่ำกว่า กลไกดังกล่าวตั้งชื่อตามปรากฏการณ์ที่การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ผ่านกระจกแล้วทำให้เรือนกระจกอุ่นขึ้น แต่วิธีการกักเก็บความร้อนนั้นแตกต่างไป โดยเรือนกระจกเป็นการลดการไหลของอากาศ แยกอากาศที่อุ่นข้างในเพื่อที่ความร้อนจะไม่สูญเสียไปโดยการพาความร้อน
      โจเซฟ ฟูริเออร์ (Joseph Fourier) เป็นผู้ค้นพบปรากฏการณ์เรือนกระจกเมื่อ พ.ศ. 2367     สวานเต อาร์เรเนียส (Svante Arrhenius) เป็นผู้ทดสอบหาปริมาณความร้อนเมื่อ พ.ศ. 2439
ถ้าวัตถุดำพาความร้อนในอุดมคติมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์เท่ากับโลก วัตถุดำนี้จะมีอุณหภูมิราว 5.3 °C อย่างไรก็ดี เนื่องจากโลกสะท้อนแสงอาทิตย์ที่เข้ามาราว 30% อุณหภูมิยังผล (อุณหภูมิของวัตถุดำที่จะแผ่รังสีปริมาณเท่ากัน) จะอยู่ที่ราว −18 °C ซึ่งต่ำกว่าอุณหภูมิพื้นผิวที่แท้จริงที่ราว 14 °C อยู่ 33 °C กลไกที่สร้างความแตกต่างนี้ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวที่แท้จริงกับอุณหภูมิยังผลเป็นเพราะชั้นบรรยากาศและสิ่งที่รู้จักกันในชื่อปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปรากฏการณ์เรือนกระจกตามธรรมชาติของโลกทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้ ทว่า กิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการเผาไหม้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และการทำลายป่า ได้เพิ่มปรากฏการณ์เรือนกระจกธรรมชาติ ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน

เรือนกระจกจริง

เรือนกระจกสมัยใหม่ในสวนพฤกษศาสตร์ไวสเลย์ RHS Wisley
คำว่า “ปรากฏการณ์เรือนกระจก” มีต้นตอมาจากเรือนกระจกที่ใช้ปลูกต้นไม้หรือทำสวนในเขตหนาว แต่ก็เป็นชื่อที่ผิดเพราะการทำงานของเรือนกระจกมีความแตกต่างกับปรากฏการณ์เรือนกระจก] เรือนกระจกทำด้วยกระจก การร้อนขึ้นเกิดจากการอุ่นขึ้นของพื้นภายในเรือนซึ่งเป็นตัวทำให้อากาศในเรือนอุ่นขึ้น อากาศค่อยๆ ร้อนขึ้นเพราะมันถูกกักไว้ในเรือนกระจก ต่างกับสภาพนอกเรือนกระจกที่อากาศอุ่นใกล้ผิวพื้นลอยตัวขึ้นไปผสมกับอากาศเย็นตอนบน ซึ่งทดลองได้โดยการลองเปิดช่องเล็กๆ ตอนบนสุดของเรือนกระจก อุณหภูมิอากาศภายในจะเย็นลงทันที ซึ่งเคยมีการทดลองมาแล้ว (Wood, 1909) โดยการสร้างเรือนกระจกด้วยเกลือหิน (ซึ่งโปร่งแสงอินฟราเรด) และทำให้อุ่นได้เหมือนกับที่สร้างด้วยกระจก ดังนั้นการอุ่นขึ้นของอากาศจึงเกิดจากการป้องกันไม่ให้เกิด “การพาความร้อน” แต่ปรากฏการณ์เรือนกระจกของบรรยากาศกลับลด “การสูญเสียการแผ่รังสี” ไม่ใช่การพาความร้อน ดังนั้นจึงอาจพบแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการอุปมาเรือนกระจกที่ผิดๆ ได้มาก ถึงแม้ว่ากลไกขั้นต้นของการร้อนขึ้นของเรือนกระจกคือการป้องกันไม่ให้เกิดการผสมกับอากาศอิสระของบรรยากาศภายนอกก็ตาม คุณสมบัติการกระจายรังสีของกระจกก็ยังมีความสำคัญเกษตรกรผู้ปลูกต้นไม้เชิงพาณิชญ์อยู่ ด้วยการพัฒนาสมัยใหม่ของพลาสติกและกระจกที่ใช้กับเรือนกระจกทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกชนิดการปลดปล่อยรังสีดวงอาทิตย์ได้ตามชนิดของพืชที่ต้องการแสงในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%81#.E0.B9.80.E0.B8.A3.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.99.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.88.E0.B8.81.E0.B8.88.E0.B8.A3.E0.B8.B4.E0.B8.87

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พายุ

พายุ หมายถึง ภาวะผิดปกติของบรรยากาศ เป็นปรากฎกาณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแสดงถึงสภาวะของอากาศไม่ดีและมีลมแรงจัด พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1. พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด

2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ เกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา มีกำลังความเร็วของลมตั้งแต่ 65 น๊อต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป เมื่อพัดผ่านที่ใดก็จะทำให้เกิดความเสียหาย  ดังนี้


- พายุเฮอร์ริเคน เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโกด้วย




- พายุไซโคลน เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ แต่ถ้าพายุนี้เกิด
บริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลีวิลลี




- พายุไต้ฝุ่น เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น




แต่หากพายุหมุนเขตร้อนอ่อนกำลังลงก็จะมีชื่อเรียกต่างหากว่า
- พายุโซนร้อน เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล ความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง ความเร็วของลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34 น็อต หรือ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 63 น็อต หรือ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจมเรือขนาดใหญ่ ๆ ได้




- พายุดีเปรสชัน เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก เป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ความเร็วของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน 33 น็อต หรือ 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง




3. พายุทอร์นาโด เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม./ชม. ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน ซึ่งอาจสามารถพังทลายสิ่งก่อสร้างได้ เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ ทอร์นาโดแบ่งออกตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 - F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด

ที่มา : http://www.unigang.com/Article/8269

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คำกลอน เพราะๆ

หากต้องเลือกความรักกับอากาศ

ความรักกับอากาศ..
เธอเลือกที่จะขาดสิ่งไหน
ไม่มีอากาศ ก็ไม่มีลมหายใจ
ไม่มีความรักยังหายใจได้เหมือนทุกวัน
-  -  -  -  -  -
อากาศไม่ต้องเสาะแสวงหา
แต่ความรักจะได้มาต้องบากบั่น
อากาศอาจได้มาง่ายๆและมีอยู่มากมายร้อยพัน
ส่วนความรักแม้เพียงฝันก็สุขใจ
-  -  -  -  -  -
อากาศแทบไม่มีน้ำหนัก
ส่วนความรักใครก็เห็นว่ายิ่งใหญ่
อากาศไม่เคยสร้างความเสียใจ
หากความรัก ทำให้ต้องร้องไห้ มีน้ำตา
-  -  -  -  -  -
อากาศทำให้ทุกชีวิตดำรงอยู่
และความรักทำให้ลมหายใจทุกอณูมีคุณค่า
อากาศมองเห็นได้ยากด้วยสายตา
ส่วนความรัก เห็นด้วยตา รู้ด้วยใจ
-  -  -  -  -  -
มีอากาศโลกก็เป็นอย่างที่เป็นอยู่
มีความรักโลกจะกลายเป็นสีชมพูหวานไหว
สำหรับอากาศ เข้า-ออก ตามลมหายใจ
แต่ความรักหากมีไว้ก็ไม่อยากสูญเสียไปสักนิดเดียว
-  -  -  -  -  -
ดูแลรักษาอากาศว่าลำบาก
ดูแลความรักยิ่งยุ่งยากหากไม่ชอบแลเหลียว
อากาศมากเท่าไร่ก็ไม่กลมเกลียว
ความรัก แม้บางเบาก็แน่นเหนียวและผูกพัน
-  -  -  -  -  -
ส่นประกอบของอากาศสามารถบรรยาย
แต่ความรักไม่อาจอธิบายด้วยคำสั้นๆ
อากาศอาจ ดี-แย่ แต่ละวัน
ส่วนความรักนั้นจะยังคงอบอ่นกรุ่นหัวใจ
-  -  -  -  -  -
“ความรัก” กับ “อากาศ”
หากถามฉัน ว่าเลือกที่จะขาดสิ่งไหน
แม้อากาศจำเป็นสักเพียงใด
แต่ในโลกที่ความรักสิ้นไร้ ก็ไม่อาจทนอยู่ได้เช่นกัน


ขอบคุณ ที่ทำให้เข้าใจ ว่าความรักไม่ได้มีแต่ด้านที่มืดมน
ขอบคุณ – ที่มาให้รัก
ขอบคุณ – ที่ทำให้รู้จักว่าความรักนั้นเป็นแบบไหน
ขอบคุณ – ที่ทำให้รู้ว่าส่วนหนึ่งของความรักที่งดงามเป็นเช่นไร
ขอบคุณ – ที่ทำให้เข้าใจ ว่าความรักไม่ได้มีแต่ด้านที่มืดมน


รักเธอเหมือนทะเล
สูดกลิ่นไอแห่งความอบอุ่น
ก้อนเมฆเหมือนปุยนุ่นขาว – ขาว
แดดส่องคลื่นวิ่งไล่เป็นสายพราว
หาดทรายยาวทอดไปสุดสายตา
อยากให้เธออยู่ตรงนี้
ร่วมซึมซับความรู้สึกดี – ดี ที่ตรงหน้า
เผื่อเธอจะเข้าใจในเวลา
ที่ฉันบอกเธอว่า”รักเธอเหมือนทะเล”

ที่มา:http://www.klonthai.com/

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันสิ่งแวดล้อมโลก 2557 วันที่ 5 มิถุนายน




          ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีนั้น เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นวันที่เราควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อสภาพแวดล้อมของเราที่ย่ำแย่ลงทุกวัน สังเกตได้จากปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งหิมะขั้วโลกเหนือละลาย น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรืออากาศร้อนขึ้น ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนมาจากการมนุษย์ที่เป็นคนทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อมดีๆ นั่นเอง ทำให้หน่วยงานของโลกจัดตั้งวันสิ่งแวดล้อมโลกขึ้น

          สำหรับจุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day นั้นจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่มีรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ โดยเรียกการประชุมนี้ว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" หรือ "UN Conference on the Human Environment" ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ

          ทั้งนี้เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP: United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น ไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือ จากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก



          ซึ่งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผลจึงได้กำหนดวิธีการไว้ดังนี้

          -สร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชนและนักศึกษาทั่วไป

          -ให้การสนับสนุนทางวิชาการ และเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

         -เสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม


          นอกจากนั้น ยังมีข้อตกลงจากการประชุมให้มาดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ซึ่งประเทศไทยก็ได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และได้ก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงาน ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็น 3 หน่วยงาน คือ

          1.กรมควบคุมมลพิษ

          2 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

          3.สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม


ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/24504

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การนำพาพลังงานมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน


                             มนุษย์รู้จักนำพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์โดยตรงมาตั้งแต่สมัยโบราณคือใช้ในการตากผ้า ตากผลผลิตทางการเกษตร
              และอุตสาหกรรมทำนาเกลือ เป็นต้น


                             ในสมัยปัจจุบันได้นำความรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์โดยใช้เทคโนโลยีและออกแบบเครื่องมือในการนำพลังงาน
                 แสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ500,000ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตใกล้เคียง
                 เส้นศูนย์สูตร หรืออยู่ในแถบร้อน.......มีค่าพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยค่อนข้างสูงประมาณวันละ4.7กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตร
                 หากสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกลงบนประเทศไทยเพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่ทั้งหมดต่อปี............จะได้พลังงานเทียบเท่า
                 น้ำมันดิบประมาณ 700 ล้านตัน............การค้นคว้าเพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้แทนพลังงานเชื้อเพลิงอื่นซึ่งเป็นพลังงานที่
                 หมดไปจากโลกได้จึงมีความจำเป็นต้องวิจัยและพัฒนา....... เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานให้ได้ต่อไป การนำพลังงานแสงอาทิตย์
                 มาใช้ โดยการประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ เช่น การกลั่นน้ำด้วยแสงอาทิตย์ ....การอบแห้งด้วยแสงอาทิตย์ .......และการแปรรูป
                 พลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรงหรือที่เรียกว่าโซล่าเซลล์
  
                         การกลั่นน้ำด้วยแสงอาทิตย์ .....ทำงานโดยให้น้ำรับความร้อนจากแสงอาทิตย์ในถาดน้ำ
                 จะใช้วัตถุสีดำ เช่น ขี้เถ้า แกลบ หรือทาสีดำ เพื่อเพิ่มการดูดกลืนพลังงานความร้อน จะทำให้
                 การระเหยน้ำในถาดนี้จะระเหยได้เร็วมากเมื่อน้ำกลายเป็นไอระเหยเกาะแผ่นกระจกใสแล้วเกาะ
                 เป็นหยดน้ำ เมื่อปริมาณมากเข้า จะไหลลงไปในที่รองรับปกติระบบกลั่นน้ำนี้จะผลิตน้ำร้อนได้
                 ประมาณ 2-3 ลิตร ต่อตารางเมตรต่อวัน ณ ความเข้มแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยปกติ
                                                          ประโยชน์
                              น้ำกลั่นนี้ใช้นำไปใส่แบตเตอรี่รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ หรืออื่นๆ ที่ใช้น้ำกลั่นได้
  
                                                       

                            การอบแห้งด้วยแสงอาทิตย์ ใช้ระบบเดียวกับการกลั่นน้ำด้วยแสงอาทิตย์ คือมีพื้นทาสีดำ
                  อากาศที่ไหลเข้ามาจะร้อนและลอยตัวผ่านผลิตผลที่นำมาอบให้แห้ง อากาศที่ร้อนจะพาความชื้น
                  จากพืชผลออกไปที่ปล่องด้านบน เมื่ออากาศร้อนไหลออกไปจะเกิดช่องว่าง อากาศภายนอกจะไหล
                  เข้ามาแทนที่วนเวียนเช่นนี้

                                  ประโยชน์ ใช้อบผลิตผลทางการเกษตร เช่น กล้วยตาก พริก ถั่ว ข้าวโพด และอบไม้ ฯลฯ เป็นต้น

                                               
                            เตาแสงอาทิตย์ ........ใช้หลักการรวมแสงอาทิตย์ด้วยกระจกโค้งรับแสงอาทิตย์จากนั้นจึงปรุงอาหารบนกระจกโค้ง
                  ตรงจุดรวมแสงอาทิตย์

                             ประโยชน์ ......ใช้แทนเตาหุงต้ม โซล่าเซลล์กระแสไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละเซลล์มีค่า
                 ไม่มากนัก จึงนิยมนำมาใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า ไม่มากนัก เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ เป็นต้น
                  หากต้องการพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์จำนวนมากต้องนำเซลล์แสงอาทิตย์มาต่อกันเป็นจำนวนมากทีเดียว
                  จึงสามารถนำมาใช้ได้ในไฟฟ้าในครัวเรือน ไฟฟ้าสื่อสาร ใช้สูบน้ำ ฯลฯ เป็นต้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
                 ได้นำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้งานหลายแห่งคือ ที่คลองช่องกล่ำ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี นำมาใช้ผลิต 

                  กระแสไฟฟ้าในครัวเรือนโดยใช้ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ที่ควนพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต นำมาใช้ผลิต
                  กระแสไฟฟ้าร่วมกับกังหันลม ที่หมู่บ้านสหกรณ์อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำมาใช้ผลิตกระแส
                 ไฟฟ้าร่วมกับเครื่องยนต์ดีเซลล์ ที่สถานีทวนสัญญาณจองคร่อง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
                 ที่สถานีทวนสัญญาณ เขาฟ้าผ่า อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่อ่างเก็บน้ำ โรงไฟฟ้า จังหวัดกระบี่
                 ที่สถานีทวนสัญญาณบ้านนาแก้ว จังหวัดกระบี่ ได้นำเซลล์ไฟฟ้ามาใช้ในไฟฟ้าสื่อสาร ที่หน้าพระตำหนัก
                 เขื่อนภูมิพล จังหวัดตากได้นำมาใช้ในโคมไฟฟ้า 5 ตัน และที่ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
                 ได้นำมาใช้สาธิตการผลิตไฟฟ้าสำหรับแสงสว่างและปั้มนำพุ
                             

                                                    อ้างอิง http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/sunshine/SUN-1.htm

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พลาสติก 7 ประเภท

พลาสติก 7 ประเภท

          ในปัจจุบันได้มีการรณรงค์การนำวัสดุต่างๆ มารีไซเคิลเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมไปถึงการนำพลาสติกต่างๆ ไปรีไซเคิลด้วย สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งอเมริกา (The Society of the Plastics Industry, Inc.)ได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของพลาสติกยอดนิยมกลุ่มต่างๆ ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนหรือที่เรียกว่าการรีไซเคิล (Recycle) ไว้ 7 ประเภทหลักๆ โดยหากพลาสติกใดสามารถนำมารีไซเคิลได้ ก็จะมีรหัสอันประกอบด้วยลูกศร 3 ตัว วนเป็นรูป 3 เหลี่ยมรอบๆ ตัวเลขตัวหนึ่งดังแสดงในรูปภาพ อย่างไรก็ตามก่อนจะทราบ
รายละเอียดของพลาสติกทั้ง 7 ประเภท เรามาทำความรู้จักความหมายคร่าวๆ ก่อนว่าพลาสติกคืออะไร




ภาพจาก Website

http://www.plasticsindustry.org/AboutPlastics/content.cfm?ItemNumber=823&navItemNumber=2144 
ข้อมูลภาพเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2555
พลาสติกคืออะไร
          พลาสติกจัดเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นสายโซ่ยาวๆ แต่ไม่สามารถมองเห็นเป็นสายโซ่ได้ด้วยตาเปล่าซึ่งสายโซ่ดังกล่าวประกอบด้วยหน่วยย่อยๆที่เรียกว่ามอนอเมอร์ พอลิเมอร์สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชั่น(polymerization) ของมอนอเมอร์ โดยใช้แหล่งวัตถุดิบจากปิโตรเคมีเป็นหลัก พลาสติกมีหลายชนิดและสามารถใช้แทนวัสดุธรรมชาติได้หลายอย่าง เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ใช้ผลิตท่อพีวีซี, พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (PET) ใช้ผลิตขวดบรรจุน้ำดื่ม และพอลิสไตรีน (PS)
ใช้ผลิตภาชนะบรรจุต่างๆ เช่นช้อน พลาสติก เป็นต้น

เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะเป็นอย่างไร
          เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะแสดงคุณสมบัติ 2 แบบหลักคือ 1) พลาสติกจะแข็งตัวถาวรไม่ว่าจะถูกความร้อนมากแค่ไหนก็ตาม ทำให้ไม่สามารถหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่ตามที่ต้องการได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกกลุ่มนี้ว่า “เทอร์โมเซตติ้ง (thermosetting)” และ 2) พลาสติกจะเกิดการอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และจะกลับไปแข็งเมื่อพลาสติกเย็นขึ้น ทำให้สามารถนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกแสดงคุณสมบัติแบบนี้ว่า “เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)” ซึ่งพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้คือพลาสติกประเภท “เทอร์โมพลาสติก
(Thermoplastic)”

พลาสติกรีไซเคิลทั้ง 7 ประเภท
          พลาสติกหมายเลข 1 มีชื่อว่า พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate) หรือที่รู้จักกันดีว่า เพ็ท (PET หรือ PETE)เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน เป็นต้น

          พลาสติกหมายเลข 2 มีชื่อว่า พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือที่เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE)เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำและบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็น ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียม เป็นต้น
          พลาสติกหมายเลข 3 มีชื่อว่า พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือที่รู้จักกันดีว่า พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใสแผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำสำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม เป็นต้น



ภาพจาก Website

http://en.wikipedia.org/wiki/Plastic_recycling
ข้อมูลภาพเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2555
          พลาสติกหมายเลข 4 มีชื่อว่า พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) สามารถเรียกแบบย่อว่า แอลดีพีอี(LDPE) เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม เป็นต้น
          พลาสติกหมายเลข 5 มีชื่อว่า พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP) เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้ากระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง เป็นต้น
          พลาสติกเลข 6 มีชื่อว่า พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือที่เรียกโดยย่อว่า พีเอส (PS) เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่ายใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่างๆ หรือโฟมใส่อาหาร เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ได้
          พลาสติกเลข 7 นั้นมิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมาหลอมใหม่ได้



ภาพจาก Website

http://www.greenguidenetwork.com/article-detail/May-17-2010---The-7-Types-of-Plastic--What-They-Mean-to-Your-Health.-202/
ข้อมูลภาพเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2555
          ขยะพลาสติกจึงไม่ควรนำไปทิ้งรวมกับขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เช่น ขยะสด ขยะที่สามารถเผาได้ ขยะที่ไม่สามารถเผาได้เป็นต้นแต่ควรแยกทิ้งโดยแยกประเภทของขยะพลาสติกและล้างทำความสะอาดก่อนจะนำไปทิ้ง เพื่อที่จะได้นำขยะพลาสติกเหล่านี้ไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัฑณ์อื่นๆ ต่อไป เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก
ที่มา : http://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-56(500)/page4-1-56(500).html

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

6 คุณประโยชน์ที่เราจะได้ฟรีๆ จากธรรมชาติทุกวัน … แต่เรากลับไม่ใช้เอง !!

 
     ธรรมชาติ สร้างสรรค์สิ่งดีๆ  มีคุณประโยชน์มากมาย  ให้แก่มวลมนุษย์บนโลกใบนี้  
ที่สำคัญอันได้แก่  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ   นั่นเอง

วันนี้  ที่จะกล่าวถึง  ได้แก่  คุณประโยชน์ดีๆ จากแสงแดด  ที่เราจะได้ทุกวัน  แต่เรากลับ ไม่ใช้เอง


6  คุณประโยชน์จากแสงแดด


1.  แสงแดดให้วิตามิน ดี   ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียม   เป็นประโยชน์ต่อกระดูก
และฟันและช่วยในการย่อยอาหาร

การได้รับแสงแดดในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นทุกวัน  จะทำให้ร่างกายสามารถสร้างวิตามิน ดี
ตามที่ร่างกายต้องการ ได้ทั้งหมด

(ผู้เขียนบล็อกใคร่ขอเสนอให้รับแสงแดดในช่วงเช้า   ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้น  ไปจนถึง
หลังจากนั้นประมาณ  1  ชั่วโมง  ( ประมาณ   06.00 -  07.00 น.)    และในช่วงเย็น  
ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ ก่อนตก ประมาณ  1  ชั่วโมง  ไปจนถึงดวงอาทิตย์ตก   ( ประมาณ  
17.00 - 18.00 น.)  แสงแดดจะอ่อนมาก  ให้คุณประโยชน์ อย่างเต็มที่  จะนั่งสมาธิ
ไปด้วย  หรือจะนั่งนอน แบบพักผ่อน  ก็ได้ประโยชน์ทั้งนั้น

ห้ามโดนแดดจัด เป็นเวลานาน   เพราะอาจจะทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้  โดยเฉพาะในเวลา
10.00 -  14.00 น.  ซึ่งเป็นเวลาแดดจัดมาก

***  เวลาแต่ละประเทศ ไม่เหมือนกัน เป็นการประมาณเท่านั้น)


2.  แสงแดดทำให้ผิวหนังแข็งแรงขึ้น    สามารถต้านทานโรค และลดอาการอักเสบ
ติดเชื้อได้  โดยเฉพาะกับโรคสะเก็ดเงิน  แผลแมลงสัตว์กัดต่อย  และสิว


3.  แสงแดดช่วยลดอาการตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดได้  โดยให้เด็กตากแดดอ่อน
ในตอนเช้า  และให้ดื่มน้ำมากๆ


4.  แสงแดดช่วยให้อารมณ์แจ่มใส   มีงานวิจัยพบว่า  ผู้หญิงบางคนที่อยู่ในแถบ
ประเทศที่มีฤดูหนาว  ซึ่งมีแสงสว่างน้อย เป็นเวลายาวนาน  จะเกิดอารมณ์ซึมเศร้า ที่เกิด
ตามฤดูกาล  แสดงถึงว่า  แสงแดดมีผลกระทบต่อระบบประสาทและอารมณ์  ที่เป็นเช่นนี้
ก็เพราะแสงแดดช่วยให้สมองหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน  ซึ่งเป็นสารสุขที่ช่วยให้รู้สึก
สบายนั่นเอง


5.  แสงแดดช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน   โดยไปช่วยเพิ่มความสามารถของ
เม็ดเลือดแดง  ในการลำเลียงออกซิเจน  เมื่อได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่  เซลล์ต่างๆ
ก็จะทำงานได้ดีขึ้น


6.  แสงแดดช่วยลดน้ำหนัก  โดยไปกระตุ้นอัตราเผาผลาญอาหารของร่างกาย  ช่วยให้
เผาผลาญแคลอรี่ได้มากขึ้น (บ้าง)    แต่ไม่ได้มากขนาดที่จะทำให้  คุณกินข้าวขาหมู
ทั้งจาน  แล้วจะไปตากแดด  เพื่อเผาผลาญพลังงานได้หมด  โปรดอย่าเข้าใจผิด

ที่มา: http://www.oknation.net/blog/surasakc/2012/10/22/entry-1

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ : สิ่งใกล้ตัวที่ควรรู้จัก

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural  Disasters) รูปแบบต่าง ๆ ทางธรรมชาติที่ได้มีการศึกษารวบรวม และบันทึกรายละเอียดไว้  อาจสรุปได้เป็น  10  ประเภท  คือ
                1.  การระเบิดของภูเขาไฟ (Volcano  Eruptions)
                2.  แผ่นดินไหว  (Earthquakes)
                3.  คลื่นใต้น้ำ  (Tsunamis)
                4.  พายุในรูปแบบต่าง ๆ (Various  Kinds  of  storms)  คือ
                                ก.  พายุแถบเส้น  Tropics  ที่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทร (Tropical  Cyclones)
                                ข.  พายุหมุนที่มีแหล่งกำเนิดบนบก (Tornadoes)
                                ค.  พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorms)
                5.  อุทกภัย (Floods)
                6.  ภัยแล้ง  หรือทุพภิกขภัย (Droughts)
                7.  อัคคีภัย (Fires)
                8.  ดินถล่ม และโคลนถล่ม (Landslides  and  Mudslides)
                9.  พายุหิมะและหิมะถล่ม (Blizzard  and  Avalanches)  และ
                10. โรคระบาดในคนและสัตว์ (Human  Epidemics  and  Animal  Diseases)

ลักษณะของภัยแต่ละชนิด
                1)  ภัยจากน้ำท่วม  เป็นภัยที่เกิดขึ้นได้ทุกแห่ง  มีลักษณะและความรุนแรงแตกต่างกันออกไป  ดังนี้คือ
 1.1  การเกิดน้ำท่วมขังในที่ราบลุ่ม  เนื่องมาจากความไม่สมดุลระหว่าง  ก.ปริมาณน้ำฝน  ข.ปริมาณน้ำฝนที่ซึมลงสู่ใต้ดิน  และ  ค.ปริมาณน้ำผิวดินที่ไหลหรือระบายออกจากพื้นที่นั้น ถ้าปริมาณน้ำส่วน ก.  มากกว่าส่วน ข.  และส่วน ค. รวมกัน  ก็จะเกิดการท่วมขัง ความรุนแรงของการท่วมขังไม่มากนัก  ค่อยเป็นค่อยไป  แต่อาจกินเวลานานกว่าจะระบายน้ำออกได้หมด
1.2  การเกิดน้ำป่าบริเวณป่าเขาที่มีความลาดชันสูง  ถ้าปริมาณฝนในพื้นที่รับน้ำมีมาก  จนทำให้ปริมาณน้ำผิวดินที่ระบายออกจากพื้นที่มีมาก  ด้วยอัตราที่รุนแรงเรียกว่า  น้ำป่า  ยิ่งถ้าป่าบริเวณนั้นถูกทำลายและปราศจากพืช  ต้นไม้ปกคลุมดิน  ก็จะพัดเอาเศษต้นไม้  กิ่งไม้  ตะกอน  ดิน  ทราย  และหินลงมาด้วย  ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่บริเวณท้ายน้ำเป็นอย่างมาก  อุทกภัยจากน้ำป่ามีความรุนแรงกว่าประเภทแรก  และจำเป็นต้องใช้เวลานานในการแก้ไขจนกว่าพื้นที่นั้นจะกลับฟื้นคืนสภาพดังเดิมได้
1.3  น้ำล้นตลิ่งของลำน้ำ  เนื่องจากปริมาณและอัตราน้ำหลากที่เกิดขึ้นในบริเวณต้นน้ำ  มีมากเกินกว่าความสามารถของแม่น้ำในบริเวณดังกล่าวที่จะรับได้ ถ้าเป็นแม่น้ำขนาดเล็กและปริมาณของน้ำหลากไม่มากนำ  หรือเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีระบบควบคุมอัตราการไหลที่ดี  เช่นมีเขื่อน  อ่างเก็บน้ำ  ฝายทดน้ำ  หรือประตูระบายน้ำฯ  ความรุนแรงและความเสียหายอันเกิดขึ้นจากอุทกภัยอาจไม่มากนำ  แต่ถ้าเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ปราศจากระบบควบคุมจะก่อให้เกิดความเสียหายมาก  และเป็นวงกว้าง
1.4  น้ำท่วมอันเกิดจากการวิบัติของระบบควบคุม  เช่น  เขื่อนพัง  อ่างเก็บน้ำแตก  ประตูระบายน้ำไม่อาจทำหน้าที่ได้  จะก่อให้เกิดน้ำหลาก  มีความรุนแรงมากกว่าน้ำป่า  และความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มากกว่าเช่นกัน
1.5  การเกิด  และการเคลื่อนตัวของกำแพงน้ำ   (ดังเชนBore  หรือ  Surge)  มีความรวดเร็ว  และรุนแรงที่สุด  ปรากฏการณ์นี้  เป็นการเพิ่มระดับน้ำด้านเหนือน้ำอย่างมาก  และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  มักจะเป็นช่วงต่อระหว่างแม่น้ำกับทะเลซึ่งเป็นคอขวด  ภายใต้สภาพที่เหมาะสมของลำน้ำ  และทะเล  น้ำท่วมจากสาเหตุนี้จะมีความรุนแรง  และเป็นไปอย่างรวดเร็ว  จนไม่อาจอพยพคน  สัตว์เลี้ยง  สิ่งของได้ทัน  สภาพของความเสียหายจะเป็นไปอย่างกว้างขวาง  และมากมาย

                2.2  ภัยจากพายุหมุนที่มีแหล่งกำเนิดมาจากมหาสมุทรในบริเวณเส้น Tropics  อากาศบริเวณเหนือน้ำในมหาสมุทรใกล้เส้นศูนย์สูตร  เมื่อได้รับความร้อนจากการแฟ่รังสีของดวงอาทิตย์เป็นเวลานาน  จะมีความอุณหภูมิสูงขึ้นและลอยตัวขึ้นสู่ท้องฟ้า  มวลอากาศเย็นจากบริเวณเส้นรุ้งที่อยู่ห่างไกลออกไปจะเคลื่อนที่มาปะทะกัน  แนวปะทะระหว่างมวลอากาศทั้งสองชนิดก่อให้เกิด  Warm  Front  (มวลอากาศร้อนดันมวลอากาศเย็นให้เคลื่อนที่)  และ  Cold  Front (มวลอากาศเย็นดันมวลอากาศร้อนให้เคลื่อนที่)  หมุนรอบแกนกลางซึ่งเรียกว่า  Low-Pressure  Center  แล้วเคลื่อนที่เข้าสู่แผ่นดิน  พายุหมุนประเภทนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหลายร้องกิโลเมตร  และความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางของพายุประมาณ  100-150  กิโลเมตร/ชั่วโมง  ยังผลให้เกิดพายุลมและฝน  ตามมาด้วยอุทกภัยในบริเวณกว้างขวาง
                ในแต่ละปีมีพายุหมุนประเภทนี้  ทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิค  (เรียกว่า Tyhoon,T)  ในมหาสมุทรแอตแลนติค  เรียกว่า  Hurricane,H)   และในความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากมายจนนับได้ว่าเป็นภัยจากธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุด

                2.3  ภัยจากพายุหมุนที่เกิดบนบก  ส่วนมากเกิดในมลรัฐต่าง ๆ ทางภาคใต้  และตะวันออกเฉียงใต้ใกล้กับอ่าวเม็กซิโก  ได้แก่  Texas, Oklahoma, Kansas,  Nebraska, Mississippim, Missouri, Alabama, Tennessee, Kentucky,  lowa  lllinois, Indiana  และ Obio ฯ  เป็นต้น  (ซึ่งรวมกันเรียกว่า  Central  and  Gulf  Coash  states  ของประเทศสหรัฐอเมริกา)
                พายุนี้เรียกเฉพาะว่า  Tornadoes  นับเป็นพายุหมุนที่มีแรงลมสูงสุดถึง  400-500  ไมล์/ชม.  แต่มีอายุของการเกิดสั้น  และครอบคลุมพื้นที่ไม่มากน้ำ  เมื่อเทียบกับพายุหมุน  Typhoons, Hurricanes  และ  Cyclones  ดังนั้นความเสียหายจึงมีน้อยกว่า
                สาเหตุของการเกิดพายุหมุนประเภทนี้ได้แก่  การปะทะกันของมวลอากาศร้อน  (Warm  Air  Mass) จากบริเวณอ่าวเม็กซิโก  ทางภาคใต้  กับมวลอากาศเย็น (Cool  Air  Mass)  จากทางภาคเหนือ  และภาคตะวันตก  พายุหมุน  Tornado  ก่อให้เกิดเมฆฝนขนาดใหญ่+ฟ้าแลบ+ฟ้าร้อง+ฟ้าผ่า  และฝนที่มีความรุนแรงของลมสูงมาก  มีรูปร่างคล้ายงวงช้าง  (บ้านเราเรียกว่าลมงวงช้าง)ในแต่ละปีจะเกิดพายุหมุนดังกล่าวหลายร้อยลูกแถบ  Midwest  States  ของประเทศสหรัฐอเมริกา

                2.4  ภัยจากพายุฝนฟ้าคะนอง  พายุประเภทนี้พบบ่อยมากในพื้นที่ๆภูมิอากาศร้อน  และอบอุ่น  อาจกล่าวได้ว่าในแต่ละวันจะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นทั่วโลกมากถึงประมาณ  45,000  ลูก  ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดพายุแบบนี้  คือการลอยตัวขึ้นสู่บรรยากาศระดับสูงของกระแสอากาศที่มีความชื้นมาก  และอุณหภูมิสูงอย่างรุนแรง,  เมื่ออากาศร้อนชื้นดังกล่าวลอยตัวสูงขึ้นอุณหภูมิจะลดลง  และจะคายความร้อนแอ่งออกมาขณะที่เกิดการลั่นตัวของเมฆฝนเป็นหยดน้ำ  การคายความร้อนของมวลเมฆฝนดังกล่าวทำให้กระสกลมพัดขึ้นในแนวดิ่ง  และเกิดพายุ  ขณะเดียวกันอากาศบริเวณโดยรอบก็จะพัดเข้าสู่บริเวณศูนย์กลางของพายุ  การลั่นตัวของความชื้นในกระแสอากาศก่อให้เกิดเมฆฝนขนาดใหญ่ (Cumulo  Nimbus)ลอยขึ้นสู่ระดับสูงประมาณ 15,000 ฟุต (หรือประมาณ 4,600  เมตร)  จากฐานถึงยอดของเมฆนั้น  เมฆฝนนี้ก่อให้เกิดฝนและลูกเห็บ  บางทีอาจมีฟ้าแลบ  ฟ้าผ่าร่วมด้วย  พายุฝนฟ้าคะนองครอบคลุมพื้นที่ไม่กว้างขวางนำ  และจะสลายตัวภายในระยะเวลาอันสั้นไม่เกิน  1  ถึง  2 ชั่วโมง

                2.5  ภัยจากการระเบิดของภูเขาไฟ  นับเป็นมหันตภัยธรรมชาติที่รุนแรง  น่าสพรึงกลัว  และก่อให้เกิดความเสียหายมากอย่างหนึ่ง  แต่บังเอิญโชคดีที่ไม่เกดขึ้นกระจายทั่วไป  เหมือนภัยธรรมชาติอีก  4 ประเภท  ดังได้กล่าวมาแล้ว
                ภูเขาไฟมักจะเกิดขึ้นในสภาพของธรรมชาติดังต่อไปนี้คือ
                                ก.  ตามรอยแยกขนาดใหญ่บนผิวโลก
                                ข.  แนวสัน  หรือความต่างระดับของพื้นให้มหาสมุทร  และ
                                ค.  การเคลื่อนตัวสัมพันธ์กันของ  Tectonic  Plates  บนเปลือกโลก
                วงรอบมหาสมุทรแปซิฟิค  ซึ่งเชื่อมต่อกับทวีปเอเชีย,  ทวีปอเมริกาเหนือ  และทวีปอเมริกาใต้  ซึ่งเป้นของของ  Pacific  Plate  นั้นมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า  Ring of  Fire  มีภูเขาไฟขนาดใหญ่  ที่มีอายุมากกว่า  2,000  ปี  และยังไม่ดับสนิทอยู่อีกมากกว่า  300 ลูกกระจัดกระจายไปทั่ว  นับตั้งแต่  Alaska,  อเมริกาเหนือ,  อเมริกาใต้  ลงไปถึง  Chile  ข้าม  New  Zealand,  Philippines  จนถึงญี่ปุ่น
                การระเบิดของภูเขาไฟจะพ่น  เถ้าถ่าน  หินละลายออกมาเป็นจำนวนมหาศาล  เมือง  Pompeii  ประเทศอิตาลี  ถูกฝังจากการระเบิดของภูเขาไฟ  Vesuvius  เมื่อปี   79  ก่อนคริศตกาล  ผู้คนเสียชีวิตหลายพันคน

                2.6  ภัยจากการเกิดแผ่นดินไหว  แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น  และสัมผัสได้บริเวณเปลือกโลกเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปล่อยพลังงานออกมาเป็นจำนวนมาก  และทันทีทันใดในรูปของคลื่อนแห่งความสั่นสะเทือน  ซึ่งเกิดลึกลงไปใต้ดิน  หรือใต้พื้นมหาสมุทรจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก(Earth  Crust)  ตามแนวแยก (Fauts)  ซึ่งเป็นไปได้ในหลายลักษณะแผ่นดินไหวในแต่ละครั้งอาจมีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน  และยังผลให้เกิดผลเสียหายต่อชีวิต  และทรัพย์สอน  ตามไปด้วยเป็นอย่างมาก  แผ่นดินไหวอาจก่อให้เกิด  ภูเขาไฟระเบิด  หรือคลื่นใต้น้ำ  (Tsunami)  ซึ่งช่วยแผ่กระจายความเสียหายไปตามมวลน้ำในมหาสมุทรได้อย่างมากมายมหาศาล

                2.7  ภัยจากคลื่นใต้น้ำ  คลื่นและกระแสน้ำ  เป็นการเคลื่อนไหวของน้ำในทะเล  2  ลักษณะซึ่งไม่เหมือนกัน  แต่มีความเกี่ยวเนื่องกันบาทีพลังงานจากคลื่น,  กระแสน้ำ  เสริมด้วยลม  และพายุที่มีความเร็วสูงจะก่อให้เกิดอุทกภัยที่มีความรุนแรง  และอำนาจทำลายล้างสูงมาก        
                ดังจะเห็นได้จากปรากฏการณ์เมื่อเดือนมกราคม  ปีค.ศ.1753  ในทะเลเหนือ  กล่าวคือ  ระดังน้ำสูง (High  Spring  Tide)  บวกกับคลื่นสูง (Storm  Waves)  และลม  (Winds)  ซึ่งมีความเร็วสูงถึง  185  กิโลเมตร/ชั่วโมง  (หรือ 115  ไมล์/ชม.) ทำให้ระดับน้ำในทะเลเหนือสูงกว่าปกติถึง  3  เมตร  (10 ฟุต)  ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า  “SURGE”  ในทะเล,  ผลลัพธ์ก็คือ  เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างขวางแถบชายทะเลภาคตะวันออกของอังกฤษ  ในส่วนของเนเธอร์แลนด์พื้นที่ประมาณ  4.3ของประเทศถูกน้ำท่วมขัง  ทำให้บ้านเรือนราว  30,000  หลังได้รับความเสียหาย และถูกทำลาย  มีผู้คนเสียชีวิตกว่า 1,800  คน
                คลื่นในทะเลและมหาสมุทรส่วนใหญ่เกิดจากแรงเสียดทานอันเนื่องมาจากความเร็วของลมพัดเหนือน้ำ  การเคลื่อนที่ของคลื่นเคลื่อนตัวใน  2 ลักษณะประกอบกัน  คือ 1 การหมุนตัว (Rotation)  และ 2.  การเคลื่อนตัวในแนวเส้นตรงไปข้างหน้า  (Trancslation)  คลื่นที่พัดเข้าสู่ชยฝั่งทะเลแล้วสลายตัวขึ้นไปตามชายหาด  หรือกระทบกับผาหิน  มักมีกำเนิดจากพายุในตอนกลางของมหาสมุทร  หรือลมที่เกิดขึ้นในบางส่วนของมหาสมุทรนั้น
                คลื่นใต้น้ำ (ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Tidal  Waves, หรือ Tsunami)  ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระแสน้ำ  (Tides)  ในมหาสมุทรเลยแม้แต่น้อย  สาเหตุหลักเกิดมาจาก
                                ก.  แผ่นดินไหว  (Earthquakes)
                                ข.  การระเบิดของภูเขาไฟ  (Volcanic  Eruptions) หรือ
                                ค.  การถล่มทะลายของภูเขาไฟหรือมวลดินใต้น้ำ  (Submarine  Landslides)
แต่สาเหตุหลักของการเกิดคลื่นใต้น้ำส่วนใหญ่และขนาดใหญ่ที่มีความรุนแรงมากคือ “แผ่นดินไหว” ซึ่งเกิดขึ้นใต้ท้องมหาสมุทร
                ในท้องทะเลคลื่นจากความสั้นสะเทือน  (Shock  Waves)  ที่เกิดขึ้นจากบริเวณศูนย์กลางของแผ่นดินไหว  แล้วกระจายออกไปทุกทิศทางโดยรอบนั้นมักมีความสูงน้อยมาก  เพียง  60  ถึง  90  เซนติเมตร  (2 ถึง 3 ฟุต ) แต่ความยาวของคลื่นอาจะเป็นหลายร้อยกิโลเมตร  และความเร็วหลายร้อยกิโลเมตร/ชั่วโมงดังตัวอย่างของคลื่นใต้น้ำในร่องลึกใต้มหาสมุทรบริเวณที่เรียกว่า  Aleutian  Trench ทางเหนือสุดของมหาสมุทรแปซิฟิค  เมื่อปี  1946  ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายต่อหมู่เกาะฮอนโนลูลู  ซึ่งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิค  Tsunami  ที่เกิดขึ้นเดินทางจากแหล่งกำเนิด  จนถึงหมู่เกาะฮอนโนลูลูใช้เวลาประมาณ  4  ชั่วโมง  34  นาที  ต่อระยะทาง 3,220  กิโลเมตร  (หรือ2,000ไมล์)  ด้วยความเร็วเฉลี่ยราว  00 กิโลเมตร/ชั่วโมง (หรือ 438ไมล์/ชั่วโมง) ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงมาก  เทียบได้กับความเร็วของเครื่องบินไอพ่น
                คลื่นที่มากระทบชายฝั่งของหมู่เกาะฮอนโนลูลูมีความสูงกว่า  38  เมตร (หรือ 1125  ฟุต) จากการเปลี่ยนรูปของพลังงานจลน์จากคลื่นสูง  15  เมตร  (50  ฟุต)  มาเป็นพลังงานศักย์ดังกล่าว
                ส่วนมาก  Tsunami  มีความรุนแรงมากที่สุดมักจะเกิดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิค  แต่มีเพียงบางส่วนที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติค
                ในครั้งนั้น  Tsunami  เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรแอตแลนติคใกล้กับ  Lisbon  ปอร์ตเกสเมื่อปี  1755  คลื่น  ขนาดความสูง  4  ถึง  6  เมตร  (หรือ 10  ถึง  20 ฟุต)  ถาโถมเข้าสู่ในทันทีทันใด  และได้แผ่ไปถึงหมู่เกาะ west  Indies  อยู่ฟากตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติคมีระยะห่างออกไปหลายพันไมล์ความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สอนมีเป็นจำนวนมากมายมหาศาล
ถ้าย้อนมองอดีตจากปัจจุบันไปสัก  1 ศตวรรษ  (ราว  พ.ศ. 2551  จนถึง  พ.ศ.2451)  จะเห็นได้ว่าเป็นยุคแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่  2  เมื่อลองประมาณการจำนวนคนที่ต้องเสียชีวิตจากผลของสงครามโลกทั้งสองครั้งรวมแล้วไม่น้อยกว่า  10  ถึง  15  ล้าน  คนอย่างแน่นอน  แต่ถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้ง  10  ประเภท  ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน  ตามที่ได้มีการจดบันทึกไว้  น่าจะมีตัวเลข  มากกว่าตัวเลขดังกล่าว  2  หรือ  3  เท่าอย่างแน่นอน
                ภัยพิบัติทางธรรมชาติดังกล่าวล้วนเป็นภัยใกล้ตัว  อาจจะเกิดขึ้นที่ไหน  และเมื่อไรก็ได้  ทำให้มองดูแล้วน่ากลัวมาก  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  จากการเรียนรู้ทางประสบการณ์  ของภัยพิบัติต่าง ๆ ด้วยตนเอง  และ/หรือจาก  ตำรา  บทความ ตลอดจนงานวิจัยที่มีผู้ทำไว้  ล้วนมีประโยชน์ในการดำรงชีวิตท่ามกลางภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งอยู่รอบตัวเราได้  ด้วยความอยู่รอดปลอดภัยในภายภาคหน้า
                ประเทศไทยเรายังนับว่ามีบุญ  และโชคดีที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีน้อย  ที่มีก็ไม่มีความรุนแรงมากนัก  ดังเช่นประเทศอินโดนีเซีย  ประเทศฟิลิปปินส์ฯ  ซึ่งอยู่ในทวีปเอเชียด้วยกันกับเราล้วนมีภัยพิบัติ  เกี่ยวกับภูเขาไฟ  แผ่นดินไหว  และคลื่นใต้น้ำที่มีความรุนแรงในระดับต้น ๆ เป็นประจำแทบทุกปี  และในแต่ละปีอาจมีหลายครั้ง  ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิต  และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก  แต่ประชากรในทั้งสามประเทศฯ  ก็ยังคงอยู่ร่วมกับภัยพิบัติดังกล่าวได้อย่างมีความสุข
                ในช่วงระยะเวลาทศวรรษ  คงได้ทราบข่าวจากสื่อต่าง ๆ ถึงการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่โน่นบ้าง  ที่นี่บ้างอยู่เป็นประจำ  โดยเฉพาะประเทศไทยเราต้องเผชิญกับภัยพิบัติของ  Tsunami  ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์  บริเวณทะเลอันดามันเกิดแผ่นดินไหวขนาด  9.0  ตาม  Richter’ Scale  ทางตะวันตกของเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย  เมื่อประมาณ  08.00น.  ของวันอาทิตย์  ที่  26  ธันวาคม  พ.ศ.  2547  ตามมาด้วย  Tsunami  ขนาดใหญ่  และมีความร้ายแรงมาก  กระทบกระเทือนไม่ถึงกว่า  10  ประเทศโดยรอบทำให้มีคนเสียชีวิตราว  300,000  คน  และความเสียหายหลายพันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา  สิ่งนี้เป็นการจุดประกายถึงการเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อเผชิญภัยพิบัติที่ร้ายแรงต่อไปในภายภาคหน้า
ชนิดของการระเบิดของภูเขาไฟ


                                                                        Shield volcanoes
    punch up lava through weak spots in earth’s crust.




  
                                        Composite volcanoes
                                      erupt along plate edges.




                                                                        Rift volcanoes
                                                                        are most commonly found on the sea floor.





                                    Cinder cone volcanoes



แผ่นดินไหว  (Earthquakes)





คลื่นใต้น้ำ  (Tsunamis)




ที่มา http://cendru.eng.cmu.ac.th/articles/13